เมนู

ความรู้จักประมาณ 2 อย่าง


[965] คำว่า ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณ ในคำว่า ภิกษุนั้นใน
ธรรมวินัยนี้... พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ
ความว่า รู้จักประมาณโดย
เหตุ 2 อย่าง คือรู้จักประมาณโดยการรับ 1 รู้จักประมาณโดยการ
บริโภค 1.
ภิกษุรู้จักประมาณโดยการรับอย่างไร เมื่อทายกถวายสิ่งของแม้
น้อย ภิกษุก็รับเพื่อความเอ็นดูแก่สกุล เพื่อความรักษาสกุล เพื่อ
อนุเคราะห์แก่สกุล เมื่อทายกถวายสิ่งของแม้มาก ภิกษุรับจีวรพอบริหาร
กาย รับบิณฑบาตพอบริหารท้อง ภิกษุรู้จักประมาณโดยการรับ
อย่างนี้.

ภิกษุรู้จักประมาณโดยการบริโภคอย่างไร ภิกษุพิจารณาโดย
อุบายอันแยบคายแล้วจึงใช้จีวร เพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความ
ร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เสือกคลาน
เพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ เป็นกำหนดเท่านั้น ภิกษุ
พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้ว จึงฉันบิณฑบาต ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉัน
เพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ฉันเพื่อความดำรงกายนี้
เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อเว้นความลำบากแห่งกายนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่
พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนาเก่า จักไม่ให้เวทนา
ใหม่เกิดขึ้น ความเป็นไปสะดวก ความไม่มีโทษ ความผาสุกจักมีแก่เรา
ดังนี้ เป็นกำหนดเท่านั้น ภิกษุพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย แล้วจึง
เสพเสนาสนะ เพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัด
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เสือกคลาน เพื่อความบรรเทา

อันตรายอันเกิดแต่ฤดู เพื่อความยินดีในความหลีกเร้น เป็นกำหนด
เท่านั้น ภิกษุพิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้วจึงใช้คิลานปัจจัย เภสัช-
บริขาร เพื่อบำบัดทุกขเวทนา อันเกิดเพราะธาตุกำเริบ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
เพื่อความลำบากเป็นอย่างยิ่งเป็นกำหนดเท่านั้น ภิกษุรู้จักประมาณโดย
การบริโภคอย่างนี้.

คำว่า ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณ คือ รู้ รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ
แทงตลอด ซึ่งประมาณ โดยเหตุ 2 อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณ.
[966] คำว่า ในธรรมวินัยนี้... เพื่อสันโดษ ความว่า ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร และกล่าวคุณแห่งความสันโดษด้วย
จีวรตามมีตามได้ ทั้งไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควรเพราะเหตุแห่ง
จีวร ไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน
เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดทุกข์ บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่
เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติ ในจีวรสันโดษนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า
เป็นผู้ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ อันมีมาแต่
โบราณ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และ
กล่าวคุณแห่งความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ทั้งไม่ถึงความ
แสวงหาผิดอันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่
สะดุ้ง และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน เห็นโทษ
มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดทุกข์ บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความ

สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน
มีความรู้สึกตัว มีสติ ในบิณฑบาตสันโดษนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้
ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ อันมีมาแต่โบราณ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และกล่าว
คุณแห่งความสันโดษด้วยเสนาสนะ ทั้งไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่สะดุ้ง และได้เสนาสนะแล้ว
ก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดทุกข์
บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษ ด้วยเสนาสนะตามมี
ตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติ
ในเสนาสนะสันโดษนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ดำรงอยู่ในวงศ์แห่งพระ-
อริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ อันมีมาแต่โบราณ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี
ตามได้ และกล่าวคุณแห่งความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี
ตามได้ ทั้งไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่สะดุ้ง ได้คิลานปัจจัย
เภสัชบริขารแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน เห็นโทษ มีปัญญาเป็น
เครื่องสลัดทุกข์ บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วย
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจ-
คร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติ ในคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสันโดษนั้น ภิกษุ
นี้เรียกว่า เป็นผู้ดำรงอยู่ในวงศ์แห่งพระอริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ
อันมีมาแต่โบราณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้...
พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ.

ว่าด้วยการสำรวม


[967] คำว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัยเหล่านั้น ในคำว่า ภิกษุ
นั้นสำรวมในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน
ความว่า
สำรวม คุ้มครอง รักษา ระวัง ในจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย
เภสัชบริขารแม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัย
เหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นสำรวม คุ้มครอง รักษา ระวังในอายตนะ
ทั้งหลาย แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัย
เหล่านั้น. คำว่า เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน ความว่า เป็นผู้สำรวม
ระวัง ระวังเฉพาะ คุ้มครอง ครอบครอง รักษา สังวร เที่ยวไปในบ้าน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวม
เที่ยวไปในบ้าน.

ว่าด้วยการไม่ด่าตอบคนที่ด่า


[968] คำว่า แม้ถูกเขาด่าก็ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ ความว่า
ถูกเขาด่า แช่ง ดูหมิ่น เสียดสี ติเตียน ค่อนว่าเข้าแล้ว ไม่พึงกล่าว
ตอบผู้ที่กล่าว ไม่พึงด่าตอบผู้ที่ด่า ไม่พึงแช่งตอบผู้ที่แช่ง ไม่พึงหมายมั่น
ตอบผู้ที่หมายมั่นด้วยถ้อยคำหยาบ กระด้าง ไม่ควรทำความทะเลาะ ไม่
ควรทำความหมายมั่น ไม่ควรทำความแก่งแย่ง ไม่ควรทำความวิวาท
ไม่ควรทำความทุ่มเถียง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
ซึ่งความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง
พึงเป็นผู้งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก ปล่อยเสีย ไม่เกี่ยวข้องซึ่ง
ความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาทและความทุ่มเถียง